|
รายงานผลการดำเนินโครงการบริหารจัดการขยะในตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการวิธีการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน/ชุมชน
แก่อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก และผู้นำท้องที่หรือผู้แทน จำนวน 123 คน
วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 เวลา 08.00 - 16.30 น.
ณ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลตำหนักธรรม หมู่ที่ 3
อำเภอหนองม่วงไข่ จังหวัดแพร่
************************************************************************
๑. การอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง วิธีการบริหารจัดการขยะในครัวเรือน/ชุมชน
๑.๑ กลุ่มเป้าหมาย : จำนวนทั้งสิ้น ๑๒๔ คน ประกอบด้วย
๑.๒.๑ อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกตำบลตำหนักธรรม (อถล.ต.ตำหนักธรรม) จำนวน ๑๑๕ คน
๑.๒.๒ ผู้นำท้องที่หรือผู้แทน ตำบลตำหนักธรรม จำนวน ๕ คน
๑.๒.๓ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม จำนวน ๔ คน
1.2 การบรรยายวิชาการความรู้ เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร
วิทยากร : นายไพรัตน์ รัตนชมภู ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง โดยมีหัวข้อเนื้อหา ดังนี้
๑) สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๕
๒) สภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากการไม่คัดแยกขยะ
๓) การดำเนินงานขับเคลื่อนการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ตามกรอบแนวคิด วน ๓ ระบบ ระบบ ๓ช หรือ ๓Rs (ใช้น้อย (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)) วนระบบจัดการที่เหมาะสมตามบริบทพื้นที่หรือกำจัดแบบศูนย์รวมและแปรรูปผลิตพลังงาน และวนระบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (ส่วนราชการ ท้องถิ่น ท้องที่ องค์กรในชุมชนต่าง ๆ และอาสาสมัครทุกหน่วยงาน)
๔) ปริมาณขยะมูลฝอย ๔ ประเภท (ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะทั่วไป และขยะอันตราย) เพิ่มเติม ๑ ประเภท (ขยะติดเชื้อ)
๕) แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยของกระทรวงมหาดไทย
๖) แนวทางการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน (การขุดหลุมทำบ่อขยะเปียกแบบปิด ในครัวเรือน)
๗) แนวทางการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ จากผลไม้รสเปรี้ยว เพื่อใช้ในการช่วยย่อยสลาย ขยะอินทรีย์
๘) แนวทางการจัดทำบ่อขยะอินทรีย์ประยุกต์ แปรรูปเป็นปุ๋ยเพื่อการเกษตร
๙) แนวทางการจัดการขยะรีไซเคิล เพื่อสร้างสิ่งประดิษฐ์และสร้างรายได้ในครัวเรือน/ชุมชน
๑๐) แนวทางการจัดการขยะอันตราย (ระบบการเก็บขนเพื่อส่งกำจัดตามหลักวิชาการ)
๑๑) แนวทางการจัดการขยะติดเชื้อ (ระบบการเก็บขนเพื่อส่งกำจัดตามหลักวิชาการ)
๑๒) แนวทางการจัดการขยะทั่วไป
๑๓) สรุปข้อดี...
- ๒ -
๑๓) สรุปข้อดีของการคัดแยกขยะในครัวเรือนก่อนทิ้ง และการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ มุ่งสู่เครือข่ายบริหารจัดการขยะในชุมชน เพื่อรายได้ในครัวเรือน/ชุมชน และลดงบประมาณการบริหารจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รายละเอียดการสรุปแนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจรข้างต้น ข้อ ๑) - ๑๓) ตาม QR Code แนบท้าย
1.3 การอบรมเชิงปฏิบัติการตามฐานกิจกรรมบริหารจัดการขยะในครัวเรือน/ชุมชน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วิทยากร : ๑. นางกานต์พิชชา อุดคำมี ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดเทศบาลตำบลสูงเม่น อบรมเชิงปฏิบัติการ ฐานกิจกรรม Eco Brick รักษ์โลก
๒. นางสุชาดา เด็ดขาด ตำแหน่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดเทศบาลตำบลสูงเม่น อบรมเชิงปฏิบัติการ ฐานกิจกรรม หมอนหลอดดูดเพื่อบุคคลที่มีภาวะพึ่งพิง
๓. นายพงศ์ปภัส วงค์รัตนธรรม ตำแหน่ง นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สังกัดเทศบาลตำบลสูงเม่น อบรมเชิงปฏิบัติการ ฐานกิจกรรม ถุงยาจากป้ายไวนิล
เพื่อนำวัสดุเหลือใช้นำไปประดิษฐ์และนำกลับไปใช้ประโยชน์อื่น ด้วยหลัก 3ช หรือ 3Rs รายละเอียดตามภาพประกอบแนบท้าย
๑.๔ การวิเคราะห์ปัญหาขยะในหมู่บ้าน และวิธีการแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วิทยากร : นายภาณุพงศ์ ปิ่นแก้ว ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ งานสาธารณสุขสำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลตำหนักธรรม
กิจกรรมวิเคราะห์ปัญหาขยะในหมู่บ้าน และวิธีการแก้ไขปัญหา โดยให้แบ่งกลุ่ม จำนวน ๒ กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มโซนบ้านสะเลียม หมู่ที่ ๑, ๓, ๕, ๗ และกลุ่มโซนบ้านตำหนักธรรม หมู่ที่ ๒, ๔, ๖, ๘ และให้มีตัวแทนกลุ่มนำเสนอและสรุปผลวิธีการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืนจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สรุปรายละเอียด ดังนี้
๑) กลุ่มโซนบ้านตำหนักธรรม หมู่ที่ ๒, ๔, ๖, ๘
วิเคราะห์ปัญหาขยะในชุมชน
ประชาชนในพื้นที่ขาดความรู้ความเข้าใจความตระหนักในการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และประชาชนบางส่วนไม่คัดแยกสิ่งที่หลายคนเรียกว่า ขยะ นำกลับไปใช้ประโยชน์ ส่งผลให้ขยะที่ทิ้งตามจุดกำหนดมีกลิ่นเหม็น ทำให้สุนัขที่มีเจ้าของและไม่มีเจ้าของมากัดฉีกถุงขยะ และอาจก่อให้เกิดแหล่งเพาะเชื้อโรคติดต่อต่าง ๆ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ อาสาสมัครต่าง ๆ รวมไปถึงส่วนราชการในพื้นที่ ส่งเสริม ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ตามหลัก ๓ช หรือ ๓Rs และร่วมสร้างกฎ ระเบียบ กติกาในหมู่บ้านอย่างจริงจัง เพื่อลดประมาณขยะและนำสิ่งที่หลายคนเรียกว่า ขยะ นำกลับไปใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
๒. กลุ่มโซนบ้านสะเลียม...
- ๓ -
๒) กลุ่มโซนบ้านสะเลียม หมู่ที่ ๑, ๓, ๕, ๗
วิเคราะห์ปัญหาขยะในชุมชน
ประชาชนในพื้นที่บางครัวเรือนไม่ปฏิบัติตามกฎของการมีส่วนร่วมในชุมชนเรื่องการบริหารจัดการขยะ ทำให้มีปริมาณขยะเพิ่มมากขึ้น อนึ่ง หลายครัวเรือนคัดแยกขยะแล้ว แต่ขยะบางประเภทไม่มีร้านรับซื้อ อาจทำให้การคัดแยกขยะในครัวเรือนลดลง
แนวทางการแก้ไขปัญหา
ร่วมกันสร้างเครือข่ายส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและนำขยะกลับไป ใช้ประโยชน์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดหาหรือแนะนำร้านหรือหน่วยงานที่รับซื้อขยะที่คัดแยก ทุกประเภทหรือนำไปบริจาค/ส่งต่อให้หน่วยงานทำประโยชน์ต่อไป
ข่าว ณ. วันที่ 14 ก.ค. 2566 เวลา 14.54 น. โดย คุณ กฤษดาเลิศ กัญจนบุศย์
ผู้เข้าชม 41 ท่าน | |